โพสต์เรื่องนี้ขึ้นหัวข้อมาหลายคนอาจจะสงสัยว่ามันคือยังไง ?
ผมจะขออธิบายให้เข้าใจในมุมมองส่วนตัวผมต่อไปจากนี้
แต่ต้องออกตัวบอกก่อนว่า เป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้น ไม่ถูกใจใครไม่ว่ากันนะครับ
.
บางครั้งการที่เก่งมากไป ย่อมส่งผลไม่ดีกับเราได้เช่นกัน ดังต่อไปนี้
.
.
การที่เก่งมากไป ทำให้หลายคนปิดกั้นการเรียนรู้ ไม่เปิดรับความรู้ใหม่ๆ เชื่อมั่น ยึดมั่น ถือมั่น
ในสิ่งที่ตนรู้ว่ามันดีที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรดีกว่านี้แล้ว ถ้ามีความรู้ใหม่ๆ เข้ามา ก็จะเปิดรับได้ยาก
จนถึงขั้นอาจปิดกั้น ไม่เรียนรู้ เมื่อนั้นก็จะหยุดพัฒนา และอาจจะทำให้ปรับตัวตามยุคสมัยใหม่ไม่ทัน
.
ยิ่งถ้าหากความรู้ใหม่นั้น ค้านกับความเชื่อเดิมที่ตนมี ยิ่งยอมรับได้ยาก สมองจะปิดกั้น
ใจจะปิดรับ สร้างกำแพงไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น เก่งจนปิดกั้นการเรียนรู้มันน่ากลัว
.
.
การที่เก่งมากไป ทำให้หลายคนไม่ยอมรับเมื่อตนเองผิดพลาด ใครติก็ไม่ได้ ยิ่งเก่งมากเท่าไหร่
ยิ่งมีอีโก้สูงมากเท่านั้น การจะยอมรับความผิดพลาดยิ่งยากยิ่งขึ้น
.
เมื่อมีคนมาติหรือบอกจุดที่แก้ไข คำแรกเกิดขึ้นในใจ “คุณเป็นใครเก่งแค่ไหนมาสอนกัน”
แค่นั้นเราจะต่อต้านคำแนะนำเหล่านั้น เราจะไม่ทำตาม และอาจจะทำตรงข้ามเสียด้วย
.
ถ้าหากคำเตือน คำแนะนำ นั้นคือเรื่องจริง ที่เราต้องยอมรับความผิดพลาดเพื่อพัฒนา
แต่เราต่อต้านไม่แก้ไข แล้วไปรั้นทำตรงข้าม จะยิ่งทำให้เราผิดพลาดเสียหายมากกว่าเดิม
การที่เก่งจนยากจะยอมรับความผิดพลาดมันน่ากลัว
.
.
การที่เก่งมากไป ทำให้หลายคนประมาท ขาดความละเอียดรอบคอบในการทำงาน เก่งแล้ว ไม่ต้องทำแบบมือใหม่ เอาง่ายๆ ทำย่อๆ ก็ได้ สุดท้ายก็ทำเสร็จเหมือนกัน
.
หลายคนคิดง่ายแบบนั้น จนเกิดความประมาท กลายเป็นความเคยชิน คิดว่าก็แค่นั้น
สุดท้ายทำให้ผิดพลาดได้ง่ายๆ ตายน้ำตื้น พลาดในเรื่องที่ไม่ควรพลาด เพราะประมาท
.
หลายคนยิ่งทำงาน ยิ่งย่น ยิ่งย่อ เอาไวเข้าไว้ เพราะเชื่อเหลือเกินว่าตนเก่งแล้ว
ทำไมจะต้องทำให้รอบคอบทีละขั้นตอนแบบมือใหม่
สุดท้าย เสียหายยิ่งกว่ามือใหม่เสียอีก เก่งจนไม่รอบคอบประมาทจนมักง่ายมันน่ากลัว
.
.
การที่เก่งมากไป ทำให้หลายคนเคยชินกับความสบาย จนขาดความอดทน และพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ ยิ่งเคยเก่งในเรื่องเก่า ชำนาญในเรื่องเดิมมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ขาดความอดทนมากขึ้นเท่านั้น
.
เจอคำตินิดหน่อย เจอคำวิจารณ์เล็กน้อย เจอข้อผิดพลาดของตนก็ รับไม่ได้ สุดท้ายไม่เอา ไม่ทำ ไม่ฝึกฝน เพราะเคยเก่งในเซฟโซนของตนเอง มีแต่คนชมคนเอาใจ มั่นใจว่าตนเองเก่ง ไม่ต้องเจอแรงกดดัน
.
สุดท้าย กลายเป็นความมักง่าย ความเคยชิน ทำสิ่งเดิมๆ จนกลายเป็นล้าหลัง ขาดการพัฒนา
เมื่อต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ลำบากนิด ใช้เวลาหน่อย เหนื่อยอีกครั้ง ไม่เอา ไม่ไหว ไม่ทำมันแล้ว
เกิดกำแพงปิดกั้นความสามารถ อยู่แต่ในโลกใบเดิม กบในกะลา หาได้เรียนรู้ไม่ เก่งจนไม่พยายามเรียนรู้อะไรใหม่กลายเป็นล้าหลังไปมันน่ากลัว
.
ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นได้ เมื่อคิดว่าตนเองเก่งมากไป สุดท้าย Mindset พัง มี Mindset แย่ๆ
.
บางทีการยอมรับคำแนะนำที่ดี คำวิจารณ์ที่มีประโยชน์ เอามาคิดวิเคราะห์แยกแยะ ก็ยังดี
.
อะไรที่ไม่มีประโยชน์เป็นมลพิษ Toxic ในชีวิตเอาออกไป เช่น คำวิจารณ์ คอมเมนต์ ไม่เกิดประโยชน์ แต่สิ่งที่ติเพื่อก่อ เพื่อสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนา สมควรที่จะเรียนรู้ เอาไปคิด เอาไปพัฒนา
ยิ่งถ้าเป็นคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อย่างน้อยต้องหาประโยชน์จากคำแนะนำนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
.
#เงินอยู่ในหัวจะกลัวอะไร