ว่าด้วยเรื่องของ “Indicator”

โพสต์นี้จะมาพูดถึงเรื่องของอินดิเคเตอร์ต่าง ๆ ที่ผมเคยใช้และใช้ในแบบความเข้าใจของผมนะครับ

โดยผมจะสรุปให้เป็นข้อ ๆ ว่า อินดิเคเตอร์แต่ละตัวที่ใช้ ใช้ดูอะไรและทำอะไร ให้เข้าใจกันแบบสั้น ๆ ตามความเข้าใจของผมที่ผมเคยใช้มา อาจจะถูกหรือผิดไม่ว่ากันนะครับ

แค่อยากสรุปสั้น ๆ ให้คนอ่านทำความเข้าใจ และเผื่อนำไปทดลองใช้กัน หรือ ปรับทำความเข้าใจในอินดิเคเตอร์แต่ละตัวดูกันครับ


ก่อนจะเริ่มขอบอกก่อนว่า …..

ผมเป็นคนหนึ่งที่ตั้งแต่เข้าวงการหุ้น ผมก็ตั้งใจศึกษากราฟเทคนิคอลเป็นหลักมาโดยตลอด เรียกได้ว่า อะไรที่เกี่ยวกับกราฟเทคนิคอลผมพยายามศึกษาให้เยอะที่สุดเท่าที่จะเยอะได้ตั้งแต่เริ่มศึกษากราฟ จนถึงปัจจุบัน

โดยที่ผ่านมาผมก็ศึกษาและใช้งานอินดิเคเตอร์ที่ใช้กันในตลาดหุ้นทั่วไปที่เป็นที่นิยมหลายตัว หรือจะเรียกได้ว่า ตั้งแต่เริ่มศึกษากราฟ อินดิเคเตอร์ตัวไหนเค้าว่าดี ผมพยายามศึกษาทำความเข้าใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

จนสุดท้ายปัจจุบันนี้ ผมเหลือใช้อินดิเคเตอร์ หรือ เครื่องมือกราฟเทคนิคไม่กี่อันเท่านั้น นั่นคือ

  1. รูปแบบราคา
  2. เทรนไลน์
  3. ทฤษฎี ดาวเทอรี่ หรือ Dow’s Theory
  4. อาจจะดู MACD บ้างบางครั้ง

จากนั้นผมก็วางแผนการเล่น แนวรับ แนวต้าน เป้าหมาย แนวคัท และทำตามวินัยเท่านั้นเป็นอันจบ

#ผมจะมาเริ่มสรุปการใช้อินดิเคเตอร์แต่ละตัวแบบสั้นๆ ให้อ่าน ณ บัดนี้

1. #EMA หรือ เส้นค่าเฉลี่ย : ใช้ดูความแข็งแกร่งของราคา โดย
จำนวนวันของ EMA ยิ่งมาก ยิ่งบอกความแข็งแกร่งของแนวเส้นนั้นมากขึ้น เช่น EMA200 แข็งแรงกว่า EMA15 ดังนั้น หากราคายืนเหนือเส้น EMA ถือว่ามีแนวรับป้องกันอยู่ หรือ ถ้า ราคาอยู่ใต้ EMA ถือว่ามีแนวต้านขวางทางอยู่

2. #SSTO และ #FSTO : ใช้ดูการแกว่งของราคา ยิ่งไทม์เฟรมสั้นยิ่งมีโอกาสเกิด error มากขึ้น แนวรับคือ ตอน STO ต่ำ แนวต้าน คือ ตอน STO สูง

3. #RSI : ใช้ดูความหนาแน่นของการซื้อขาย ถ้ามีค่ามาก แปลว่า อาจจะมีการปรับตัวของราคาทั้งขึ้นและลงรุนแรง ถ้ามีค่าน้อย แปลว่า อาจจะมีการปรับตัวของราคาทั้งขึ้นและลงเบาบาง

4. #MACD : ใช้ดูความแข็งแกร่งของเทรน ถ้าเหนือ 0 แนวโน้มแข้งแรง ถ้าต่ำ 0 แนวโน้มอ่อนแอ

5. #ADX : ใช้ดูแนวโน้ม คือ ถ้า DI+ มากกว่า DI- ถือว่าดี ถ้าตรงข้าม ไม่ดี และถ้าเทรนจะชัดเจน ADX ต้องมากกว่า 20 – 25 ขึ้นไป หรือที่ผมเคยเรียกว่า สูตรปากเป็ด

6. #Bollinger Band : ใช้ดูการบีดอัดของวอลุ่ม ถ้าราคาอยู่เหนือเส้นกลางถือว่าแนวโน้มดี และถ้าวงเส้นมีการบีดจากใหญ่ไปเล็ก แปลว่า วอลุ่มกำลังบีบอัดรอเลือกทางใดทางหนึ่ง หรือ ที่ผมเคยเรียกว่า สูตรท่อแตก

7. #Parabolic : เส้นจุดไข่ปลานี้ ใช้ดูแนวโน้ม ถ้าเกิดจุดไข่ปลา 3 จุด ขึ้นไป อยู่ใต้ราคาถือว่าดี ถ้าอยู่เหนือราคา ไม่ดี

8. #รูปแบบราคา : ใช้อ่านแนวโน้มของราคาที่อาจจะเกิดขึ้นตามรูปแบบต่าง ๆ ทำให้จินตนาการแนวโน้มราคาที่อาจจะเป็นไปได้ในอนาคต

9. #เทรนไลน์ : ใช้วางกรอบการเล่นให้เรารู้แนวรับแนวต้าน เพื่อจะได้มองภาพใหญ่ไม่ใช่ไปมองแค่จุดราคาเล็ก ๆ จุดเดียว จะได้ไม่หวั่นไหวและผันผวนเวลาโดนแกว่ง

10. #ทฤษฎีดาวเทอรี่ หรือ Dow’s Theory : ผมเอาไว้ดูว่า มีการทำไฮใหม่ หรือ โลวใหม่ไหม เท่านั้น และเพราะผมใช้ทฤษฏีนี้ ผมจึงไม่สนเรื่องนับเวฟ

ทั้งหมดนี้ คือ ที่ผมศึกษากราฟเทคนิคคอลมา และสรุปวิธีใช้ในแบบของผมให้สั้น ๆ ผิดถูกไม่ว่ากันนะครับ คิดว่าน่าจะบอกตัวที่นิยมใช้กันครบแล้ว ผมคงไม่หลงลืมตัวไหนไปมั้ง


อ่อ ต้องมีคนอยากถามแน่ว่าแล้วผมดู วอลุ่ม ด้วยไหม เมื่อก่อนผมดูครับ วอลุ่มมากดูมีนัยยะสำคัญมากกว่าวอลุ่มน้อย แต่ตอนหลังผมไม่ได้สนใจดูแล้ว ด้วยที่คิดว่ามันไม่จำเป็นครับ แค่เราวางกรอบการเล่นไว้ ถ้าเราเข้าในจุดที่ดี เดี๋ยววอลุ่มก็มาลากหุ้นเราไปเอง หรือ ถ้ามันเทลงมายังจุดคัท เราก้คัทเลย ไม่ต้องรอให้วอลุ่มมาเทค่อยคัทครับ

ด้วยที่ผมเชื่อย่างหนึ่งว่า อ่านออกก่อน คิดก่อน ทำก่อน สบายใจกว่า

รอวอลุ่มมากว่าจะคอนเฟิร์มหลาย ๆ ครั้งมันช้าไปแล้วเจ็บลึก

ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ผมจึงเลิกใช้อินดิเคเตอร์ไปหลายตัวหรือแทบจะทั้งหมด เพราะหากรอให้อินดิเคเตอร์คอนเฟิร์ม บางทีราคามันลงลึกเกินไปกว่าจะทำใจได้แล้ว

ผมจึงยึดที่ราคาเป็นหลักอย่างเดียว ไม่สนอินดิเคเตอร์ หรือ ข่าวใดใดครับ
หวังว่ากระทู้นี้จะมีประโยชน์นะครับ
#รักนะสแกนหุ้น